Thailand Digital Economy 2024 จะเติบโตได้แค่ไหน ? และจะส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจไทยอย่างไร วันนี้เรารวบรวมมาให้แล้ว ไปดูกันได้เลย
Thailand Digital Economy 2024 เติบโตได้แค่ไหน ?
รายงาน e-Conomy SEA 2023 โดย Google คาดการณ์ปี 2023 Thailand Digital Economy หรือเศรษฐกิจในไทยเติบโต 16% เทียบกับปีที่ผ่านมา
ด้วยมูลค่า 36,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.28 ล้านล้านบาท เป็นมูลค่าใหญ่สุดเป็นอันดับสองในเซาท์อีสต์เอเชีย รองจากอินโดนีเซีย (ในบทความนี้แปลงค่าเงินจากดอลลาร์ที่ได้จากรายงานเป็นค่าเงินบาทเรต 35.58 บาท ต่อดอลลาร์เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น)
และเติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่าสูงถึง 1.74 ล้านล้านบาท หรือ 49,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2025
การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศ มีการเติบโตมาจาก
1. Ecommerce เซกเมนต์ที่เป็นกำลังสำคัญหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย
และเซกเมนต์นี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี
ข้อมูลจากรายงานพบว่า GMV (Gross Merchandize Volume) หรือยอดขายสินค้าออนไลน์ที่คำนวณจากจำนวนชิ้นที่ขายได้คูณด้วยราคาขายพบว่าในแต่ละปียังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บนการแข่งขันที่รุนแรงจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ รวมถึงอีมาร์เก็ตเพลสและโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างรายได้, ขยายฐานลูกค้า
แม้ว่าการแข่งขันนี้แพลตฟอร์มและแบรนด์จะลดการจัดโปรโมชั่น และปรับส่วนลดเพื่อสมดุลของการเติบโตด้านรายได้และกำไรก็ตาม
- ปี 2021 มีมูลค่า 747,000 ล้านบาท (21,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2022 มีมูลค่า 712,000 ล้านบาท (20,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2023 คาดการณ์มูลค่า 783,000 ล้านบาท (22,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2025 คาดการณ์มูลค่า 1,067,000 ล้านบาท (30,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2030 คาดการณ์มูลค่า 2,135,000 ล้านบาท (60,000 ล้านดอลลาร์)
และ Google ประเทศไทย มองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซยังมีโอกาสที่น่าสนใจที่จะขยายตลาดได้ผ่านธุรกิจ Grocery ที่ยังมีช่องว่างในการลงเล่นอีกด้วย
2. Online Travel ในปีนี้มูลค่าอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นเซกเมนต์ที่เติบโตเป็นอันดับสองในเซาท์อีสต์เอเชีย รองจากฟิลิปปินส์ ด้วยการเติบโตมากถึง 85% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนฟิลิปปินส์เติบโต 88%
แม้ประเทศไทยจะมีการเติบโตด้านการท่องเที่ยวออนไลน์สูงเป็นอันดับสองใน SEA แต่ผู้บริหาร Google ให้ข้อมูลว่าการท่องเที่ยวไทยมีการฟื้นตัวที่ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเหตุผลนักท่องเที่ยวจีนยังกลับมาไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด
และคาดการณ์ว่านโยบายดึงดูดนักท่องเที่ยวของรัฐบาลที่ออกมาในปี 2023 เช่น การฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีน และโครงการอื่น ๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะช่วยผลักดันให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวดีได้เป็นอย่างดี และเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออนไลน์เติบโตเช่นกัน
เมื่อมองไปที่มูลค่าของการท่องเที่ยวออนไลน์ พบว่า
ปี 2019 ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาดในไทยจนต้องปิดประเทศ มีมูลค่าการท่องเที่ยวประมาณ 249,000 ล้านบาท (7,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2021 มูลค่า 71,000 ล้านบาท (2,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2022 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2023 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2025 มูลค่า 285,000 ล้านบาท (8,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2030 มูลค่า 534,000 ล้านบาท (15,000 ล้านดอลลาร์)
3. Food Delivery and Transport บริการส่งอาหารออนไลน์และการขนส่งยังเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีการเติบโตบนการแข่งขันของแพลตฟอร์มที่เริ่มลดจำนวนแคมเปญโปรโมชั่นเพื่อจูงใจลูกค้า เพื่อสร้างความสมดุลของการเติบโตด้านรายได้และผลกำไร
ในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี มีมูลค่าจากจากพฤติกรรมคนไทยที่ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ยังคงสั่งอาหารในรูปแบบฟู้ดเดลิเวอรีอยู่
และการขนส่งเติบโตจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
สำหรับมูลค่าของอุตสาหกรรมบริการส่งอาหารออนไลน์และขนส่งในช่วงที่ผ่านมาและคาดการณ์อนาคตมีมูลค่าดังนี้
- ปี 2021 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2022 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2023 มูลค่า 106,000 ล้านบาท (3,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2025 มูลค่า 142,000 ล้านบาท (4,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2030 มูลค่า 356,000 ล้านบาท (10,000 ล้านดอลลาร์)
4. Online Media สื่อออนไลน์ที่ประกอบด้วยวิดีโอ/เพลงออนดีมานด์ และเกมออนไลน์ เป็นเซกเมนต์ที่สร้างมูลค่าจากไทยเป็นประเทศที่ตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งที่เรียกเก็บค่าสมาชิกใหญ่ที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชียแม้จะมีข้อจำกัดด้านคอนเทนต์ที่เป็นภาษาไทยก็ตาม
จากการสำรวจของ Google ในรายงาน e-Conomy พบว่าไทยมีมูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ดังนี้
- ปี 2021 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2022 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2023 มูลค่า 178,000 ล้านบาท (5,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2025 มูลค่า 249,000 ล้านบาท (7,000 ล้านดอลลาร์)
- ปี 2030 มูลค่า 534,000 ล้านบาท (15,000 ล้านดอลลาร์)
อย่างไรก็ดี สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยยังขับเคลื่อนผ่านบริการอื่น ๆ เช่น
บริการด้านการเงินดิจิทัล (Digital financial services: DFS) ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งจาก
– นโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นให้การสนับสนุนกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคการบริการด้านการเงินดิจิทัล
– ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีแผนที่จะออกใบอนุญาตประกอบการธนาคารดิจิทัลใหม่ในปี 2024 ให้กับลูกค้าและช่วยให้คนไทยทั่วประเทศเข้าถึงบริการด้านการเงินได้มากขึ้น
– การขยายระบบผูกบัญชีพร้อมเพย์จะเข้ามารองรับในเรื่องนี้ โดยจะช่วยให้คนไทยเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินได้มากขึ้น
– บริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลมีการเติบโตเร็วที่สุดถึง 65% เติบโตรวดเร็วที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชีย โดยมียอดสินเชื่อปีนี้สูงประมาณ 427,000 ล้านบาท หรือ 12,000 ล้านดอลลาร์
– บริการด้านความมั่งคั่งทางดิจิทัลมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเร็วที่สุดถึง 39% และจะมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการอยู่ที่ประมาณ 818,000 ล้านบาท หรือ 23,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2025 และคาดว่าบริการด้านการเงินดิจิทัลของไทยจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเซาท์อีสท์เอเชียในปี 2023
จำนวนผู้ใช้จ่ายออนไลน์ที่มีการใช้จ่ายมูลค่ารวมกันสูงในแต่ละปีที่สูงขึ้น (High-value users: HVUs)
ในปัจจุบันประเทศไทย High-value users ที่มีการใช้จ่ายสูงกว่าผู้ใช้จ่ายออนไลน์ที่มีมูลค่าไม่สูง (Non-HVUs) โดยเฉลี่ยถึง 7 เท่า โดยเฉพาะการใช้จ่ายในส่วนของเกม การขนส่ง และการท่องเที่ยว และคาดว่ากลุ่ม HVUs ในไทยจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 64% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า นับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในเซาท์อีสต์เอเชียเช่นกัน