26.1 C
Bangkok

3 ทริค ตั้ง เป้าหมายในการลงทุน ให้สำเร็จ อัปเดต 2567

Published:

การตั้ง เป้าหมายในการลงทุน เป็นหนึ่งในการวางแผนการเงินการลงทุนมีความจำเป็นเพราะการบริหารเงินเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เมื่อทำงานหาเงินได้ สะสมเงินออม สะสมความมั่งคั่ง (Wealth) ได้ระดับหนึ่ง ต้องมีการจัดการให้ความมั่งคั่งนั้นงอกเงยและสร้างผลตอบแทน เพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันที่ค่าครองชีพสูงขึ้น และสามารถรับความเสี่ยงในชีวิตที่มีมากได้ดีขึ้น

เป้าหมายในการลงทุน
เป้าหมายในการลงทุน

3 ทริค ตั้ง เป้าหมายในการลงทุน ให้สำเร็จ อัปเดต 2567

การวางแผนลงทุน (Investment Planning) คือ การบริหารจัดการเงินให้งอกเงยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การลงทุนในทรัพย์สินที่แท้จริงและมีตัวตนจับต้องได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ ฯลฯ การลงทุนในการทำธุรกิจ หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน

การวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบจะช่วยให้นักลงทุนมีทิศทางในการลงทุนที่ชัดเจนและมีการจัดสรรเงินลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการกำหนดรายละเอียดที่สำคัญของกลยุทธ์การลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายในการลงทุน ซึ่งจะช่วยให้การเลือกประเภทสินทรัพย์และการจัดสรรการลงทุนเป็นไปอย่างเหมาะสม

แผนการลงทุนที่ดีต้องคำนึงถึงความต้องการและข้อจำกัดของนักลงทุนอย่างรอบด้าน ดังนี้

1.วัตถุประสงค์ในการลงทุน เช่น ต้องการลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ประจำ เพื่อการเติบโตของเงินลงทุน เพื่อการประหยัดภาษี หรือเพื่อสะสมความมั่งคั่งสำหรับวัยเกษียณ เป็นต้น

สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงในการเริ่มวางแผนการลงทุนคือการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก เพื่อตัดสินใจเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของคุณมากที่สุด โดยควรกำหนดให้ชัดเจนว่าเป้าหมายที่ว่าคืออะไร มีมูลค่าการลงทุนเท่าไร และต้องใช้ระยะเวลากี่ปีในการสะสมเงินให้ได้ตามเป้าหมาย เช่น การลงทุนโดยมีเป้าหมายที่จะใช้เงินอย่างต่ำเดือนละ 15,000 เป็นค่าใช้จ่ายไปอีก 20 ปี หลังเกษียน หรือต้องการลงทุนเพื่อสะสมเงินให้ได้ 1,000,000 ในเวลา 5 ปี เพื่อซื้อสินทรัพย์ในอนาคต ซึ่งการมีตัวเลขและระยะเวลาที่ชัดเจนมาคำนวณความเป็นไปได้ในเบื้องต้น ก็จะสามารถกำหนดเส้นทาง ทำให้ตัดสินใจเลือกตัวเลือกในการลงทุนได้ง่ายขึ้น

2.ผลตอบแทนที่ต้องการและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละประเภทให้ผลตอบแทนและมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน นักลงทุนจึงต้องเลือกลงทุนอย่างรอบคอบ

การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงย่อมมีความเสี่ยงตามมา ทุกครั้งก่อนลงทุนจึงต้องมีการเตรียมตัวสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการพิจารณาความผันผวนของผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุณยอมรับได้ และตัดสินใจจัดสรรการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวคุณเอง โดยอัตราการยอมรับความเสี่ยงส่วนมากมักดูจากขอบเขตการลงทุน ยิ่งมีอายุการลงทุนนานเท่าใด ก็อาจเป็นปัจจัยที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้สูงขึ้นเท่านั้น เนื่องจากมีระยะเวลาในการหมุนเวียนที่มากกว่า ซึ่งการกระจายความเสี่ยงให้มีความสมดุล

ด้วยการทำ Asset Allocation หรือการจัดสรรสินทรัพย์จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการลงทุนในระยะยาวได้ เพราะบางครั้งนักลงทุนหลายท่านอาจเลือกลงทุนจากความชอบ หรือลงทุนแค่ในสินทรัพย์ประเภทที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ การทำ Asset Allocation จึงสามารถช่วยเติมเต็มจุดบอดของการเลือกลงทุนเฉพาะด้านนี้ได้อย่างตรงจุด เนื่องจากเป็นการกระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ สินทรัพย์ ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงไปในตัว ทั้งยังช่วยลดความผันผวนให้กับพอร์ตการลงทุนของคุณ เพราะสินทรัพย์ในแต่ละประเภทสามารถสร้างผลตอบแทนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานการณ์และช่วงเวลา

3.ระยะเวลาลงทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุน

การวางแผนกระจายพอร์ตการลงทุนไปในหลาย ๆ สินทรัพย์ ทั้งในและต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือเงินสด โดยกำหนดสัดส่วนไว้ในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสม ก็จะให้ผลลัพธ์การลงทุนที่แตกต่างกันไป เช่น การลงทุนด้วยเงินสด ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด

เพราะสามารถนำออกมาใช้ได้ทันที แต่ก็อาจเกิดความผันผวนในเรื่องของเงินเฟ้อที่ทำให้มูลค่าของเงินสดค่อย ๆ ลดลงไปได้ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อยอาจเลือกลงทุนกับตราสารหนี้ให้มีสัดส่วนที่มากขึ้น แต่ใครที่รับความเสี่ยงได้สูงก็อาจเลือกลงทุนกับหุ้นในสัดส่วนที่มากกว่า

นอกจากนี้ การวางแผนกระจายการลงทุนไปยังประเทศต่าง ๆ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพอร์ตของคุณได้เช่นกัน ที่สำคัญยังจะช่วยป้องกันความเสี่ยงเมื่อค่าเงินในประเทศใดประเทศหนึ่งลดลง หรือมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ๆ เกิดขึ้น

นอกจากนี้ อย่าลืมสรุปการลงทุน หลังจากที่ได้ดำเนินตามแผนการลงทุนที่วางไว้แล้ว ในช่วงปลายปีให้ทำการประเมินอีกครั้ง เพื่อปูทางนำไปสู่แผนในปีถัดๆ ไป โดยหลังจากที่ทบทวนและสรุปทุกอย่างในขั้นตอนนี้หมดแล้ว ก็อาจแบ่งผลตอบแทนมาให้รางวัลตัวเองเล็กๆ น้อยๆ เช่น อัพเกรดอุปกรณ์ใหม่ในการทำงาน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและเป็นแรงจูงใจการลงทุนต่อไป

อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมว่าการลงทุนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา และอยากให้มองว่าในระยะสั้นหรือใน 1 ปีนี้ก็เป็นฟันเฟืองที่สำคัญในภาพรวมการลงทุน ซึ่งทางพรินซิเพิลก็พร้อมเคียงข้างช่วยเหลือ ด้วยผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีคุณภาพ รวมถึงนวัตกรรมและเครื่องมือการลงทุนที่ใช้ได้จริง ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนให้ประสบความสำเร็จได้

6 เป้าหมายเพื่อการลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้

  1. ความปลอดภัยของเงินลงทุน  การรักษาเงินทุนเริ่มแรกให้คงไว้ หรือการป้องกันความเสี่ยงซึ่งเกิดจากอำนาจซื้อที่ลดลงจากภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนรูปแบนี้มีการกำหนดระยะเวลาคืนเงินต้นจำนวนแน่นอน เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ และหุ้นบุริมสิทธิที่มี กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนของบริษัทที่มั่นคง
  2. เสถียรภาพของรายได้ ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ได้รายได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนต่างกำไร หุ้น ผู้ลงทุนสามารถทำแผนการใช้เงินทุนได้ว่าจะนำรายได้ไปใช้ เพื่อการบริโภคหรือเพื่อลงทุนใหม่ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่ได้รับเป็นประจำย่อมมีค่า มากกว่าดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่เขาสัญญาว่าจะให้ในอนาคตซึ่งยังไม่แน่ว่าจะได้ตามที่สัญญาหรือไม่
  3. ความงอกเงยของเงินลงทุน การนำรายได้ที่ได้รับไปลงทุนใหม่ก่อให้เกิดความงอกเงยของเงินทุน โดยผู้ลงทุนส่วนมากจะเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนของเขาโดยการนำดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ได้รับไปลงทุนใหม่ ความงอกเงยของเงินทุนนี้ให้ประโยชน์แก่ผู้ลงทุนในด้านการเงินเพื่อปรับฐานะผู้ลงทุน ในระยะยาวให้ดีขึ้น รักษาอำนาจซื้อให้คงไว้และให้การจัดการคล่องตัวดีขึ้น
  4. ความคล่องตัวในการซื้อขาย สามารถซื้อหรือขายได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับราคาขนาดของตลาดหลักทรัพย์ที่หุ้นนั้นจดทะเบียน ขนาดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ จำนวนผู้ถือหุ้น และความสนใจที่ประชาชนทั่วไปมีต่อหุ้น โดยหุ้นที่มีราคาสูงมักจะขายได้ยากกว่าหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า หุ้นของบริษัทใหญ่จำหน่ายได้ยากกว่าหุ้นของบริษัทเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทใหญ่มีหุ้นออกจำหน่ายจำนวนมาก ทำให้การซื้อขายดำเนินการต่อเนื่องกันตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้หุ้นของบริษัทใหญ่จึงมีความคล่องตัวมากกว่า
  5. ความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที เมื่อหลักทรัพย์ที่จะลงทุนมีสภาพคล่องสูง หรือใกล้เคียงกับเงินสด ความสามารถในการหากำไรก็ย่อมลดลง โดยหวังว่าหากโอกาสลงทุนที่น่าดึงดูดใจมาถึง จะได้มีเงินสดพร้อมที่จะลงทุนได้ทันที ดังนั้นการจัดการสำหรับเงินทุนส่วนนี้ ผู้ลงทุนอาจจะแบ่งสรรปันส่วนจากเงินลงทุนเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หรืออาจใช้เงินปันผล หรือดอกเบี้ยที่ได้รับมาเพื่อซื้อหุ้นใหม่ก็ได้
  6. การกระจายเงินลงทุน การกระจายความเสี่ยงในการลงทุนในหลักทรัพย์คือ ลงทุนผสมระหว่างหลักทรัพย์ที่มีหลักประกันในเงินทุนและมีรายได้จากการลงทุนแน่นอน กับหลักทรัพย์ที่มีรายได้และราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามภาวะธุรกิจ หรือลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทปนกันไป หรือลงทุนในสินทรัพย์ของธุรกิจที่มีความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยง เรื่องภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก

Related articles

spot_img

Recent articles

spot_img