กล่าวได้เลยว่าการฟังเรื่องผีนั้น ในปัจจุบันเป้นที่นิยมเป็นอย่างมาก มาดูกันว่า ทำไมคนไทยชอบฟังเรื่องผี อัปเดต 2567
ทำไมคนไทยชอบฟังเรื่องผี อัปเดต 2567
มีหลายเหตุผลที่ทำให้คนชอบฟังเรื่องผี ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามแต่ละบุคคล ตามไลฟ์สไตล์ และวัตถุประสงค์ของแต่ละคน. นอกจากนี้ยังมีด้านความวิจารณ์, ความสนุกสนาน, และความสะท้อนในวัฒนธรรมที่มีผลต่อความสนใจในเรื่องผีด้วย นี้คือบางเหตุผลที่ทำให้คนชอบฟังเรื่องผี
- ความสนุกและตื่นเต้น: เรื่องผีมักมีสตอรี่ที่ท้าทายและน่าตื่นเต้น การฟังเรื่องผีอาจเสริมสร้างความสนุกและสัมผัสในตอนเดียวกัน ซึ่งทำให้คนชอบพบประสบการณ์ที่ตื่นเต้นและน่าสนใจ.
- ความลึกซึ้งและสยองขวัญ: มีคนที่ชอบความลึกซึ้งและสยองขวัญ การเรียกร้องถึงความผีสาคัญมักทำให้คนรู้สึกตื่นเต้นและสัมผัสได้ถึงความสยองขวัญที่ทำให้เขาหลุดลอยจากความปกติของชีวิต.
- การท้าทายความเชื่อ: บางครั้งเรื่องผีสามารถท้าทายความเชื่อและค่านิยมทางศาสนา ซึ่งทำให้คนรู้สึกถึงความลึกซึ้งและขี้ขลาดในเรื่องศาสนา.
- ความหลงใหล: มีผู้คนที่หลงใหลในเรื่องของภาพยนตร์, นิยาย, หรือสตอรี่ที่เกี่ยวกับเรื่องผี การติดตามและศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อาจเป็นทางเลือกที่ทำให้คนรู้สึกถึงความหลงใหลและท้าทายสำหรับจิตใจ.
- สันทนาการและความมีอยู่: เรื่องผีอาจเป็นทางหนึ่งที่คนนิยมในการพักผ่อนและสันทนาการ เรื่องราวที่ตื่นเต้นและท้าทายมีศักยภาพที่จะดึงดูดผู้ฟังหรือผู้ชม.
นอกจากนี้ ยังมีผู้คนที่มีความเชื่อในวิญญาณหลังความตาย หรือมีความสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ ซึ่งทำให้พวกเขาสนใจศึกษาและทบทวนเรื่องผีได้. สิ่งทั้งหมดนี้ทำให้เรื่องผีเป็นหัวข้อที่หลายคนติดตามและหลงใหล
อธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ
ผศ.ดร.วรวัชร์ ตั้งจิตรเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลว่า ทำไมคนไทยถึงชอบฟังเนื่องผี ดังนี้
1. การแสวงหาแรงกระตุ้นเร้าจากอารมณ์ หรือจากความรู้สึกกลัว (Sensation seeking) ถ้ามนุษย์อยู่ไปเรื่อย ๆ อาจรู้สึกเบื่อ แน่นอนว่าเรามีวิธีการแก้เบื่อหลายอย่าง อย่างการฟังเรื่องผี ซึ่งเป็นเรื่องตื่นเต้น มีความเหนือความคาดหมาย เมื่อได้ฟังก็เป็นแรงกระตุ้นเร้าอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องที่สร้างความรู้สึกกลัว มีคำอธิบายในทางชีววิทยาว่า ในช่วงที่เรากลัวและตื่นเต้น ร่างกายจะหลั่งอะดรีนาลีน และหลังจากที่เรากลัวสักพักหนึ่ง ร่างกายจะหลั่งสารโดพามีน ทำให้เรารู้สึกดี มีความสุข ทำให้เรารู้สึกเสพติดการฟังเรื่องผี เป็นการเรียนรู้แบบหนึ่ง
2. การระบายออก (Catharsis) คนเรามีความรู้สึกหลายอย่าง ความก้าวร้าว ความกลัว เราต้องการระบายความรู้สึกเหล่านั้น ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์มีการสะสมความรู้สึกกลัวอยู่ และการได้ฟังเรื่องผีเป็นเหมือนการระบายออกของความกลัวในรูปแบบหนึ่ง หากมองในในทางจิตวิเคราะห์ จะเป็นเหมือนการสร้างการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ เช่น เวลาเราเสพเรื่องที่แย่ ๆ เราจะเกิดความเปรียบเทียบกับความเป็นอยู่ของเรา ณ ปัจจุบัน เรื่องผีคือเรื่องทางลบ เป็นเรื่องที่มีความเป็นโศกนาฏกรรม พอเราเสพสิ่งที่มันอยู่ในสถานภาพเลวร้ายกว่า จึงเกิดการเปรียบเทียบว่า เรา ณ ปัจจุบันดีกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องราวนั้น มันก็สร้างความรู้สึกดีกับเราได้ในรูปแบบหนึ่ง
3. ความเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางสังคม บางครั้งเราอาจไม่ได้ฟังเรื่องผีคนเดียว อาจฟังในลักษณะเป็นกลุ่ม ย้อนไปในอดีต 10-20 ปีที่แล้ว เราชอบฟังเรื่องผี แต่ในหลาย ๆ ครั้ง เราก็ไม่ฟังคนเดียว จะมีการแชร์กับเพื่อน ๆ จึงมองได้ว่าเป็นกิจกรรมทางสังคมได้ และหากมองในเชิงพิธีกรรมทางสังคม (Ritual) อาจเป็นการฝึกการก้าวข้ามความกลัวของวัยรุ่นชาย ใครแสดงออกมาก-น้อย คนไหนกลัวมาก อาจถูกบูลลี่หรือถูกล้อได้ เป็นการหล่อหลอมทางสังคมรูปแบบหนึ่ง
คำอธิบายในรูปแบบอื่นๆ
ผีหลอกเขา แต่ทำไมคนฟังอย่างเราถึงกลัวไปด้วย?
Krista Jordan, นักจิตวิทยาจากเท็กซัส กล่าวว่า “สมองของเราไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างจินตนาการและความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป” ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนมาบรรยายเรื่องการกัดมะนาว และถ้าบุคคลนั้นบรรยายถึงความเปี้ยวของมะนาวได้เก่งจริง ๆ ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกเข็ดฟัน หรือน้ำลายสอขึ้นมาได้ ทำนองเดียวกันกับการฟังเรื่องผี ที่ถ้าหากอีกฝ่ายบรรยายเหตุการณ์ได้เห็นภาพมากเท่าไหร่ ก็ง่ายต่อการที่เราจะจินตนาการภาพตาม และอาจเผลอวางตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่านั้นไปด้วย
กลัวผีแล้วกระทบการใช้ชีวิตไหม?
ความกลัวผีมีหลายระดับ เด็กบางคนกลัวผีมาก แต่เมื่อโตขึ้นความกลัวก็ลดน้อยถอยลง เนื่องจากเริ่มเข้าใจว่าสิ่งที่ตัวเองกลัวอาจเป็นเพียงแค่การตีความจากสิ่งที่เห็นไปเอง แต่ก็มีอยู่อีกจำนวนหนึ่งเช่นกันที่กลัวผีเอามาก ๆ จนทำให้ฟังเรื่องผีหรือดูหนังผีไม่ได้ รู้สึกขวัญอ่อน ตกใจง่าย นอนหลับยาก ไปจนถึงไม่ชอบอยู่คนเดียวในตอนกลางคืน
การบรรเทาอาการกลัวผีที่กระทบชีวิตประจำวัน ก็คล้ายกับการบรรเทาความกลัวในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้โดยไม่ต้องกังวล เพื่อให้ความกลัวเหล่านี้ไม่ส่งผลเสียหรือกระทบชีวิตประจำวันของเรามากจนเกินไป
ทำไมคนเราถึงกลัวผี
The Standard ให้ข้อมูลว่า จริงๆ แล้วการที่มนุษย์มีความกลัวนั้นนับว่าเป็นผลดีต่อชีวิต เพราะส่วนใหญ่เรามักจะกลัวอะไรก็ตามที่สร้างความเดือดร้อนหรืออันตราย ซึ่งสมองจะสั่งให้เรากลัวเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายเหล่านั้น โดยสาเหตุของความกลัวจะมาจาก 2 รูปแบบ
- ประสบการณ์ทางตรง คือเคยประสบกับความกลัวด้วยตัวเองในอดีต เช่น คนกลัวหมา เพราะเคยถูกหมากัดตอนเด็กๆ และกลายเป็นความฝังใจมาจนถึงตอนโต
- ประสบการณ์ทางอ้อม คือเห็นคนอื่นกลัว และคิดไปว่าสิ่งนั้นน่ากลัวไปด้วย เช่น ลูกเห็นพ่อแม่กลัวแมลงสาบแล้วกลัวตาม เพราะซึมซับมาว่าแมลงสาบเป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรเข้าใกล้ หรือดูหนังผีแล้วเห็นว่ามันหักคอคนได้ จึงให้รู้สึกกลัวผีขึ้นมา
จากสาเหตุของความกลัวที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่าการที่จะเกิดความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นั้น จะต้องมีข้อมูลที่เป็นตัวกระตุ้นให้รู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นน่ากลัวและอันตราย เราจึงจะรู้สึกกลัว ซึ่งเชื่อมโยงได้ว่า ‘การกลัวผี’ ก็น่าจะมาจากเหตุผลเดียวกัน
นั่นเป็นเพราะว่าคนที่กลัวผีส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นกลัวมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ แสดงว่าในช่วงวัยนั้นจะต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าผีเป็นสิ่งที่น่ากลัว อันตราย และฆ่าเราได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจจะมาจากพ่อแม่ที่เคยขู่ว่าเดี๋ยวผีจะมาหลอก หรือเวลาดูการ์ตูนแล้วมีฉากตัวละครวิ่งหนีผี จนทำให้เราซึมซับและตีความไปว่าผีเป็นสิ่งที่น่ากลัว
ผีกับสารเคมีในสมอง
เชื่อว่าหลายคนที่ผ่านการดูหนังผีหรือฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีคงเคยสัมผัสกับร่างกายตื่นตัว ใจที่สั่น บางคนกระสับกระส่าย หลายคนก้มหน้าปิดตาโดยเฉพาะฉากที่มืด ดนตรีประโคม และจูงใจให้เชื่อว่าผีกำลังจะปรากฏ ซึ่งช่วงเวลานั้นในสมองเกิดฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งเพื่อตอบสนองกับสิ่งที่เสมือนอันตรายและเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายในการสู้ ทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายตื่นตัวและตื่นเต้น เป็นผลมาจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนความสุขชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโดพามีน (Dopamine) การฟังเรื่องผีที่น่ากลัวกลับทำให้ร่างกายตื่นตัวและมีความสุข