ในปัจจุบันนี้ใครหลายๆคนก็ไม่อยากที่จะไปทำธุระกรรมอะไรที่เป็น Offline แล้ว เนื่องจากบ้างคนก็อาจจะไม่มีเวลา และการที่เรานั้นทำออนไลน์ก็สามารถทำที่ไหนก็ได้ ช่วยลดเวลาในการทำงานได้อีกด้วย วันนี้เราเลยรวบรวม ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ ว่าจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง แล้วจะง่ายแค่ไหนกันนะ
ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้างนะ
บุคคลคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้านได้หลังเดียวเท่านั้น กรณีเป็นเจ้าของบ้านจะมีบ้าน ที่ดิน หรือคอนโดมีเนียมกี่แห่งก็ได้ แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนได้เพียงแห่งเดียว ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะเจ้าบ้านหรือผู้อยู่อาศัยก็ตาม ทำเลบ้านหลังนั้นก็คือภูมิลำเนาของบุคคลนั้นนั่นเอง กรณีที่คุณมีเงินถุงเงินถังลงทุนซื้อบ้านไว้หลาย ๆ หลัง จะปล่อยทะเบียนบ้านว่างไว้ก็ได้ หรือใส่ชื่อบุคคลอื่นที่คุณไว้ใจเป็นเจ้าบ้านก็ได้
โดยปกติแล้วเราจะย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิมกันก่อน เริ่มต้นที่การยื่นเอกสารและหลักฐานเพื่อย้ายออกให้เรียบร้อยภายใน 15 วันหลังจากย้ายออกจากบ้าน เพราะถ้าไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท จากนั้นก็แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่ ซึ่งสามารถทำผ่านระบบออนไลน์ด้วยตัวเองเลยก็ได้ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เป็นวิธีที่สะดวกและได้รับความนิยมมาก เพื่อประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่อง มีข้อจำกัดอย่างเดียวคือต้องย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิมก่อน ต่อไปก็ทำผ่านแอปพลิเคชันได้เลย
เอกสารที่ต้องใช้
การ ย้ายทะเบียนบ้าน ออกจากบ้านหลังเดิมต้องใช้เอกสารทั้งหมด 5 อย่าง คือ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้าย (กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
สำหรับขั้นตอนการย้ายออกไม่ยุ่งยากเลย เริ่มจากยื่นเอกสารต่อสำนักงานเขตท้องที่เดิม นายทะเบียนทำการตรวจสอบเอกสารและประทับคำว่า “ย้าย” แล้วรับเอกสารในการแจ้งย้ายเข้าเพื่อดำเนินการต่อไป
เตรียมตัวสำหรับการ ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
- จองคิวผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaID จากเว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (https://q-online.bora.dopa.go.th/) แล้วเลือก Login เข้าสู่ระบบใช้งาน ด้วยการกรอกเลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์ หรือจะเลือก Login ผ่านแอปพลิเคชัน D-DOPA (DOPA-Digital ID) ก็ได้
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D-DOPA ติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่ใช้งานระบบ iOS ให้เข้า App Store หรือระบบ Android ให้เข้าไปยัง Gooogle Play Store
- กดเริ่มต้นเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน D-DOPA เมื่อเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกต้องนำบัตรประชาชนไปแจ้งยืนยันตัวตนที่สำนักงานเขตก่อน จากนั้นจึงกดโทรศัพท์เริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์ โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของตนเอง และเลือกคำสั่งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
- กำหนดตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ กรอกรหัสผ่านทั้ง 2 ครั้งให้ตรงกัน จากนั้นจึงใช้รหัสผ่านเพื่อทำการอัปโหลดข้อมูลลงแอปพลิเคชัน เป็นอันว่าขั้นตอนการลงทะเบียนสมัครใช้งานเสร็จเรียบร้อย
- นัดหมายวันและเวลาเข้ารับบริการ สำหรับการจองคิวนัดวันและเวลาเข้าไปติดต่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่ เมื่อเข้าสู่แอปพลิเคชัน D-DOPA แล้ว กดปุ่มเมนูเพื่อเลือกระบบนัดหมายเข้าไปติดต่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่ ให้ระบุจังหวัด อำเภอ สำนักทะเบียน งานบริการที่ต้องการคือ “ติดต่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่” และกำหนดวันที่
ขั้นตอนการย้ายแบบ Online
- ทั้งเจ้าบ้านและผู้ที่ต้องการย้ายบ้านให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaID
- เข้าแอปพลิเคชัน ThaID หรือเข้าเว็บไซต์ thportal.bora.dopa.go.th
- กดเลือก “ลงทะเบียนด้วยตนเอง” เพื่อยืนยันตัวตนทั้งเจ้าบ้านและผู้แจ้งย้ายเข้า
- กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนของ “เจ้าบ้าน” ในบ้านที่เราต้องการจะย้ายเข้า
- หลังจากนั้นจะมีข้อความให้ “ยืนยันตัวตน” และส่งไปถึงเจ้าบ้าน ให้เจ้าบ้าน “กดยืนยันและยินยอม” ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เอกสารที่ใช้แจ้ง ย้ายทะเบียนบ้าน ปลายทางออนไลน์
- กรณีที่เป็นเจ้าบ้านแจ้งย้ายทะเบียนบ้านด้วยตัวเอง ต้องใช้บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน, หนังสือสัญญาซื้อบ้าน หรือโฉนดที่ดิน, เล่มทะเบียนบ้าน (กรณีที่มีผู้กู้ร่วมซื้อบ้านหลายคน ต้องนำบัตรประชาชนของทุกคน และหนังสือยินยอมในการเป็นเจ้าบ้านด้วย)
- กรณีที่เป็นลูกบ้านหรือผู้อยู่อาศัย ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน), บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน, บัตรประชาชนของผู้แจ้งย้าย, กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายด้วยได้ต้องมีหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าจากเจ้าบ้านด้วย (กรณีที่ผู้ย้ายไม่ได้มาแจ้งด้วยตนเอง ต้องนำหนังสือมอบหมายจากผู้ย้าย บัตรประชาชน และสำเนาทั้งสองฉบับด้วย)
เป็นยังไงกันบ้างกับการที่เราจะย้ายแบบ Online ง่ายใช่มั้ยหล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.lazada.co.th