27.9 C
Bangkok

รวม ความเชื่อที่มาจากฝน และพิธีกรรมต่างๆ

Published:

ตอนนี้ก็เข้าฤดูฝนแล้ว เนื่องจากประเทศไทยนั้นส่วนมากทำการเกษตรเป็นส่วนมาก เรานั้นจุงมีความเชื่อเกี่ยวกับฝนในทุกภาคของประเทศไทย วันนี้เราเลยรวบรวม รวม ความเชื่อที่มาจากฝน และพิธีกรรมต่างๆ ของประเทศไทย

1. ปักตะไคร้ ไล่ฝน

หนึ่งในพิธีไล่ฝนที่ฮิตมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ “การปักตะไคร้” ซึ่งเป็นความเชื่อมาแต่โบราณ ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามาจากไหน แต่พิธีกรรมโบราณหลายอย่างมักจะเป็นการกระทำที่ “ฝืนธรรมชาติ” เพราะมีความเชื่อว่าต้องการให้เทวดาเบื้องบนโกรธที่มนุษย์ทำผิดธรรมเนียม

พิธีปักตะไคร้ก็คล้ายๆ กันคือการนำปลายตะไคร้ปักลงดิน ให้โคนชี้ฟ้า แทนที่จะปักโคนตะไคร้ลงดินตามการปลูกปกติ เมื่อเทพยดาเบื้องบนรู้เข้าก็ไม่พอใจ สั่งฝนให้หยุดตก คล้ายๆ กับพิธีขึดของชาวล้านนา (ขึดคือความเชื่อที่เป็นข้อห้าม การกระทำในสิ่งที่เป็นอาถรรพ์ เสนียดจัญไร อัปมงคล)

ความเชื่อที่มาจากฝน

2. “เทศกาลบั้งไฟบุญบั้งไฟ เรียกฝน”

ความเชื่อของ ประเพณีบุญบั้งไฟ ปรากฏอยู่ใน ตำนานเรื่องพญาคันคากและเรื่องผาแดงนางไอ่ มีการกล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน โดยเฉพาะในเรื่องพญาคันคาก

พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า “พญาคันคาก” เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติมีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน จนลืมที่จะเซ่นบูชาพญาแถน พญาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์ จึงเกิดศึกการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี จึงเป็นที่มาว่า ชาวอีสานจึงทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถน เพื่อฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเอง

3. “แห่นางแมว ขอฝน”

ประเพณีแห่นางแมวไทยมีมาช้านาน เป็นพิธีแห่ของชาวไทยชนบททั่ว ๆ ไป ซึ่งเชื่อว่าถ้าแห่นางแมวแล้วฝนจะตกไม่เกินภายใน 3 วันหรือ 7 วัน การแห่นี้ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้านให้แน่นแฟ้นขึ้น สำหระประเพณีแห่นางแมวจะต้องใช้คนประมาณ 15 –20 คน โดยมากเป็นผู้เฒ่าที่รู้ประเพณี แปละการหานางแมวตัวสวย ๆ งาม ๆ สักตัวหรือ 2-3 ตัว เอานางแมวนี้ใส่กระบุง ตะกร้า หรือเข่งก่อนที่จะนำแมวเข้ากระบุง มีผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า “ นางแมวเอย …ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ “ พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้ แต่ถ้าปิดต้องให้ นางแมวถึงน้ำกระเซ็น ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณี ผู้หญิงที่เข้าร่วมแห่ จะผัดหน้าเช้ง ทัดดอกไม้สด ดอกโต ๆ ขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงแบบชนบท สนุกสนานเฮฮาพร้อมกับดื่มเหล้ายาอาหาร เมื่อขบวนถึงบ้านไหนแต่ละบ้านก็จะออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าแมวจะโกรธ และจะบันดาลไม่ให้ฝนตกลงมา
การที่ใช้นางแมว และจะต้องเป็นนางแมวตัวเมียนั้น เพื่อให้ถูกต้องตามประเพณี เพราะผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า แมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝนอย่างยิ่ง ถ้ามันเห็นฝนตกหรือฝนตกมันจะร้องทันที ดังนั้นจึงหามเพื่อให้มันร้องให้ฝนตก คนโบราณมีความเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกฝนให้ตกลงมาได้อย่างแท้จริงได้ และประเพณีนี้ก็สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

4. “คาถาปลาช่อน ขอฝน”

พิธีกรรมขอฝนตามความเชื่อของชาวล้านนา สิ่งที่นิยมปฏิบัติคือ สวดพระปริตร์คาถาขอฝนและคาถามหาเมฆ ตามด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง “ญาปลาช่อน” หรือชื่อเต็มคือ “มัจฉาพญาปลาช่อน” ซึ่งเป็นหัวใจของงาน พระธรรมเทศนาดังกล่าวเป็นคัมภีร์ประเภทชาดก เนื้อเรื่องผูกขึ้นโดยมีพญาปลาช่อนเป็นตัวละครเอก บำเพ็ญสังคหวัตถุธรรมจนสามารถช่วยเหลือบริวารให้รอดพ้นจากภัยแล้งได้สำเร็จ เรื่องนี้เมธาจารย์ผูกเรื่อง ไว้ดังนี้ ในครั้งเมื่อพระพุท ธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็นราชาปลาช่อน ได้ปกครองบริวารปลาทั้งหลายในสระ แห่งหนึ่ง ซึ่งแวดล้อมด้วยไม้นานาพันธุ์ ครั้งหนึ่งเกิดภาวะแห้งแล้งไปทั่ว ข้าวกล้าพืชพันธุ์เหี่ยวเฉาตาย น้ำในแหล่งน้ำแห้งขอด เหล่ามัจฉาชาติและสัตว์น้ำถูกบรรดาแร้ง เหยี่ยว กา และนกกระยางโฉบลงมาจิกกิน เป็นอาหาร ปลาและสัตว์น้ำต่างได้รับความเดือดร้อน ราชาปลาช่อนเห็นดังนั้นก็ออกมาตั้งจิตอธิษฐาน พร้อมมองขึ้นไปบนท้องฟ้า ประกาศคาถาว่า แม้นตนจะเกิดมาในฐานะที่บริโภคสัตว์ด้วยกันก็จริงอยู่ แต่ตน ก็มิเคยเบียดเบียนสัตว์ใด ด้วยสัจจะดังกล่าวขอให้ฝนตกลงมา เพื่อสงเคราะห์สัตว์ที่กำลังเดือดร้อนด้วยเถิด ด้วยอานุภาพแห่งสัจจาธิษฐาน ทำให้แท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระอินทร์ร้อนและแข็งกระด้าง เมื่อพระอินทร์ทราบเหตุ ก็บัญชาให้เทพบุตรชื่อวลาหกเทพบุตรลงมาบันดาลให้ฝนตก โดยห่มคลุมกายด้วย ผ้าสีเขียวเหมือนเมฆ ขับเพลงอันมีชื่อ “เมฆคีตะ” ผินหน้าเฉพาะทิศตะวันตก พลันเหล่ามวลเมฆก็แตกเป็นเสี่ยงเกิดเสียงกึกก้องทั่วจักรวาลเกิดเป็นฝนห่าใหญ่เนืองนองทั่วท้องปฐพี จากเนื้อหาของเรื่อง จึงนิยมนำคัมภีร์นี้มาอ่านแสดงเป็นพระธรรมเทศนาประกอบพิธี ซึ่งพิธีจะประกอบด้วยกิจกรรมโดยสังเขปคือ หาสถานที่ที่เหมาะสม เช่น บริเวณต้นน้ำ ลำธารใหญ่ หรือแม่น้ำที่อยู่ทิศตะวันออกหรือทิศเหนือของหมู่บ้าน ขุดสระจำลองขึ้นโดยให้กลางสระเป็นเกาะสำหรับประกอบพิธี รอบๆ สระมีการขัดราชวัตรประดับธงทิว พร้อมต้นกลัวย อ้อย ข่า ตะไคว้ ใบขิง แกะรูปสัตว์ปีก คือ กา นกกระยาง เหยี่ยว และแร้งเกาะจับตามกิ่งไม้โดยให้กาอยู่ทิศตะวันออก นกกระยางอยู่ทิศใต้ เหยี่ยวเกาะทิศตะวันตกและแร้งจับกิ่งไม้ทิศเหนือ จัดหาปลาช่อนตัวใหญ่ไว้สองตัว พร้อมสัตว์น้ำนานา อาทิ กุ้ง ปู หอย ไว้ จำนวนหนึ่ง เมื่อถึงวันงาน พระสงฆ์จะเจริญพุทธมนต์บนเกาะ กลางสระ จากนั้นพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง อ่านคัมภีร์พญาปลาช่อน พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์แล้วปล่อยปลาช่อน และสัตว์น้ำท่ามกลางเสียงฆ้องกลองประโคม ไปทั่วอาณาบริเวณ ด้านรายละเอียดของพิธี แต่ละถิ่นอาจมีช้อปฏิบัติแปลกแยกออกไป บางแห่งมีการเชิญพระอุปคุต บูชา พระปัชชุนเทวบุตรหรือสรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า เป็นต้น คัมภีร์พญาปลาช่อน เป็นคัมภีใบลาน จารด้วยอักษรธรรมล้านนา ปกติเก็บรักษาไว้ในหีบพระธรรม ปีใดเมื่อ จะประกอบพิธีขอฝน คัมภีร์ดังกล่ำวจะถูกนำมาอ่านในพิธีเสมอมา

5. “ปั้นปลัดขิก ปั้นดินเหนียว ขอฝน”

ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย จะมีความเชื่อว่า หากปั้นดินเหนียวเป็นรูปปลัดขิก หรือปั้นเป็นรูปหญิงชายเปลือยกาย ทำพิธีกลางทุ่งนา จะสามารถสวดมนต์ขอฝนได้ และเมื่อฝนตกดังที่ตั้งใจก็ทุบรูปปั้นทิ้ง

6. “แห่พระอุปคุต ขอฝน”

พูดถึงประเพณีบูชาพระอุปคุตเรายกการจัดงานมาให้จากสองพื้นที่ หนึ่งคือที่จังหวัดนครพนม จะมีประเพณีงานนมัสการองค์พระธาตุพนมประจำปีในช่วงหน้าร้อน ซึ่งจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ถึง 9 วัน 9 คืน ทำให้มีคนเดินทางมาร่วมงานนมัสการองค์พระธาตุพนมเป็นจำนวนมาก พอมีคนจำนวนมากจึงเกิดมีประเพณีต่อมาคือ ประเพณีอัญเชิญพระอุปคุต หรือ แห่พระอุปคุต พระมหาเถระผู้มีอิทธิฤทธิ์ปราบมารที่จะมาแผ้วพาล ซึ่งจะจัดขึ้นราวเดือนมีนาคมเช่นกัน เชื่อกันว่าการได้ร่วมประกอบพิธีสำคัญดังกล่าว จะมีชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข ปลอดภัย ด้วยบุญญาภินันท์ขององค์พระธาตุพนมและพระอุปคุตเถระนั่นเอง
แต่ที่กาฬสินธุ์จะมีการดำเนินประเพณีเกี่ยวกับพระอุปคุตต่างออกไปเล็กน้อย คือจะนิมนต์พระอุปคุตมาสถิตบริเวณพิธี ประชาชนและผู้สักการะบูชานุ่งขาวห่มขาว มีขบวนแห่ดอกไม้ ธูปเทียน โดยจะมีตัวแทนผู้อาวุโสหนึ่งคนหยิบก้อนหินจากสระน้ำและนำหินมาสถิตไว้ยัง “หอพระอุปคุต” เชื่อกันว่าพระอุปคุตที่ทำพิธีบูชานั้นจะช่วยดลบันดาลให้เกิดฝนตกลงมา แก้ปัญหาภัยแล้งไปได้

7. “พิธีเซียงข้อง หรือ พิธีเซียงข้อง เสี่ยงทายทำนายฝนฟ้าอากาศ”

พิธีเซียงข้อง เป็นพิธีกรรมเสี่ยงทายทำนายฝนฟ้าอากาศเก่าแก่มาแล้วกว่า 100 ปี ที่ค่อนข้างหาดูได้ยาก งานจะจัดขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นพิธีกรรมเสี่ยงทายฝนฟ้าอากาศแบบโบราณของคนอีสาน รวมถึงใช้ในการเสี่ยงทายเหตุการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถทราบได้ เช่น เสี่ยงทายดินฟ้าอากาศ ทำนายหาสิ่งของที่หาย เสี่ยงทายเกี่ยวกับการทำงาน การขับไล่ผีและสิ่งชั่วร้าย โดยก่อนเริ่มพิธี จะมีการยกครูไหว้ขัน 5 ขัน 8 ในงานจะมีหุ่นเซียงข้องซึ่งทำจากไม้ไผ่ยาว 2 ท่อน เสียบทะลุด้านล่างขึ้นไปยังปากข้องเพื่อทำเป็นขา แล้วเอาไม้ไผ่ที่ยาว 50 เซนติเมตร ท่อนหนึ่งเสียบด้านข้างตอนบนเพื่อทำเป็นแขน มัดไม้ไผ่ทั้ง 3 ท่อนเข้าด้วยกัน และมัดให้แน่นไว้ภายในตัวข้องไม่ให้ไม่ไผ่หลุดออกจากกัน


อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก

ขอบคุณข้อมูลจาก https://shopee.co.th/blog/

 

Related articles

spot_img

Recent articles

spot_img