28.5 C
Bangkok

เช็คใบสั่งจราจรออนไลน์ อย่างไรในปี 2567

Published:

คนขับรถทุกคนต้องรู้ เช็คใบสั่งจราจรออนไลน์ อย่างไรในปี 2567 วันนี้เราได้รวบรวมมาให้แล้วไปดูกันเลยว่าคุณมีใบสั่งในระบบหรือไม่ 

เช็คใบสั่งจราจรออนไลน์

เช็คใบสั่งจราจรออนไลน์ อย่างไรในปี 2567

แม้จะขับรถดย่างระวังและรักษากฎจราจรมากแค่ไหน แต่เจ้าของรถก็อาจเผลอทำผิดกฎโดยไม่รู้ตัว ปัจจุบัน การเช็กใบสั่งจราจรที่ได้รับมาว่ามีตกหล่นไปบ้างหรือไม่ สามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกัน โดยต้องเริ่มจากการลงทะเบียนใช้งานเสียก่อนตามขั้นตอน ดังนี้

วิธีสมัครสมาชิก

1. เข้าเว็บไซต์ ptm.police.go.th/eTicket จากนั้นเลือกเมนู ลงทะเบียนใช้งาน
2. กรอกข้อมูลส่วนตัวตามบัตรประชาชนและเลขหลังบัตรหรือ Laser ID จากนั้นคลิกปุ่ม ถัดไป
3. เลือกรูปแบบข้อมูลที่ต้องการใช้ลงทะเบียนว่าจะใช้เป็นข้อมูลรถที่เป็นเจ้าของหรือใช้ข้อมูลใบขับขี่ โดยจะเลือกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จากนั้นคลิก ถัดไป
4. กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วน จากนั้นคลิก ถัดไป
5. ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดที่ได้กรอกไว้ ทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งแล้วกรอกอีเมลเพื่อใช้ในการลงทะเบียน เมื่อเรียบร้อยแล้วให้คลิก ถัดไป
6. เข้าไปตรวจสอบอีเมลที่ใช้ยืนยัน จากนั้นนำรหัส 6 หลักที่ทางระบบส่งไปยังอีเมลมาใช้เพื่อยืนยันการสมัคร
7. ตั้งรหัสผ่านตามที่ต้องการ คลิก ลงทะเบียน จากนั้นอ่านเงื่อนไขและกดยอมรับเงื่อนไขตามด้วยคลิก ยืนยัน
8. สามารถเข้าสู่ระบบโดยใช้เลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ลงทะเบียนเอาไว้

วิธีเช็กใบสั่งจราจรออนไลน์

1.ดำเนินการเข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่ตั้งไว้
2.ค้นหาใบสั่งโดยระบุวันที่กระทำผิด จากนั้นกดปุ่ม “ค้นหา” (สามารถกรองข้อมูลด้วยเลขทะเบียนรถหรือหมายเลขใบสั่งได้)
3.หน้าจอจะปรากฏรายการใบสั่งที่เคยได้รับ โดยสามารถคลิกดูรายละเอียดของใบสั่งแต่ละฉบับได้ (กรณีได้รับใบสั่งมากกว่า 1 คัน จะปรากฏรายการทั้งหมดภายใต้ชื่อผู้ครองครองคนเดียวกัน)
4.ดำเนินการชำระค่าปรับออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือชำระที่สถานีตำรวจ,​ ธนาคารกรุงไทย, สาขาของไปรษณีย์ไทย, ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยหรือตู้บุญเติม ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197

จ่ายค่าปรับออนไลน์ ได้ที่ไหนบ้าง

จ่ายค่าปรับจราจรผ่านแอปฯ “เป๋าตัง”

  1. เข้าแอปฯ เป๋าตัง เลือก “G-Wallet.
  2. เลือก “จ่ายบิล”
  3. เลือก “ค่าปรับจราจร”
  4. ระบุ “เลขที่ใบสั่ง” และ “เลขบัตรประชาชน”
  5. ระบุ “จำนวนเงินค่าปรับ”
  6. ตรวจสอบข้อมูล และกด “ยืนยันการจ่ายบิล”
  7. ใส่รหัส PIN 6 หลัก
  8. ทำรายการสำเร็จ

จ่ายค่าปรับออนไลน์ กรุงไทย ผ่านแอปพลิเคชัน “Krungthai NEXT”

  1. กดเข้าแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT.
  2. ไปที่เมนู “จ่ายบิล”
  3. เลือกรายการ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ – ค่าปรับจราจร” ในหมวดหน่วยงานราชการ
  4. กรอกเลขที่ใบสั่ง 13 หลัก และเลขบัตรประชาชนผู้กระทำผิด
  5. กดตรวจสอบยอด หากข้อมูลถูกต้องจะปรากฎยอดค่าปรับที่ต้องชำระ
  6. จ่ายเงินค่าปรับ เป็นอันเสร็จสิ้น

จ่ายค่าปรับออนไลน์ ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบสั่งออนไลน์

  1. สแกน QR Code ท้ายใบสั่งออนไลน์ ด้วย Mobile Banking ตามธนาคารที่ใช้บริการอยู่
  2. จะขึ้นชื่อผู้รับโอน “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร” เท่านั้น
  3. ยอดค่าปรับจะขึ้นตรงตามในใบสั่ง
  4. จากนั้นก็ชำระได้เลย

จ่ายค่าปรับออนไลน์ผ่านแอปฯ KHUB DEE

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ KHUB DEE
  2. ลงชื่อเข้าใช้และลงทะเบียน พร้อมกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย
  3. กด “ตรวจสอบใบสั่ง”
  4. ชำระค่าปรับผ่าน QR Code ได้ทันที

โดนใบสั่ง ไม่จ่ายได้ไหม ?

กรณีที่เราโดนใบสั่งแล้วไม่จ่ายค่าปรับ จะไม่สามารถทำได้ และทางกรมขนส่งทางบกจะดำเนินการ “ออกป้ายวงกลมให้” สำหรับใช้เป็นหลักฐานชั่วคราว แทนการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี เพราะระหว่างที่เราไม่จ่ายค่าปรับ นอกจากจะถูกอายัดใบขับขี่แล้ว โทษสูงสุดคือการถูกหมายจับ! แต่เมื่อจ่ายค่าปรับเรียบร้อยแล้ว สามารถไปยื่นรับป้ายภาษีได้ตามปกติ มิเช่นนั้น จะถูกงดออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีตัวจริง

โดนใบสั่ง ต้องจ่ายภายในกี่วัน

หากโดนใบสั่ง ต้องจ่ายค่าปรับภายใน 30 วัน

ถ้าได้ใบสั่งแล้วไม่จ่าย ต่อภาษีรถยนต์ได้หรือไม่?

ในกรณีที่ได้ใบสั่งมาแล้วไม่จ่ายค่าปรับภายใน 30 วัน จะโดนใบเตือน ถ้าไม่ตอบรับภายใน 15 วัน จะโดนหมายเรียก และถ้าไม่มาตามหมายเรียกถึง 2 ครั้ง ทางตำรวจจะยื่นคำร้องพร้อมอนุมัติศาลขอหมายจับ พร้อมโทษปรับ 1,000 บาท ถ้าไม่จ่ายใบสั่ง จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ไม่สามารถนำรถไปใช้ได้ เพราะถ้านำรถไปใช้ จะโดนปรับฐานไม่ต่อภาษียานพาหนะ มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ถ้าไม่อยากเจ็บแบบจุกๆ แนะนำให้จ่ายค่าปรับตามใบสั่งก่อนจะดีที่สุด


อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก

Related articles

spot_img

Recent articles

spot_img