ในโลปัจจุบันนอกจากภาวะซึมเศร้าแล้ว อีกหนึ่งโรคที่ต้องรู้จักคือ Imposter Syndrome หรือ ภาวะกังขาในความสามารถตัวเอง ซึ่งคนรุ่นใหม่ หรือ คนวัยทำงาน มักเสี่ยงที่จะเป็นกัน โดยวันนี้เราได้รวรวมภาวะดังกล่าวมาให้แล้วมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
Imposter Syndrome ภาวะกังขาในความสามารถตัวเอง คือ
Imposter Syndromeคือภาวะในแง่ลบที่เกิดขึ้นจากจิตใจ คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่อง ด้อยค่าในตัวเอง นำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือต่อให้ทำงานสำเร็จก็พาลคิดไปว่าอาจเพราะโชคช่วย เพราะคนโน้นคนนี้ช่วย ไม่ได้เกี่ยวกับความเก่งของตัวเองเลย
ลักษณะที่สำคัญของImposter Syndrome
- ความสงสัยในตนเอง: ผู้ที่มีImposter Syndrome มักมีความสงสัยในความสามารถของตนเองและเชื่อว่าตนเองไม่มีความสามารถเท่าไรที่ผู้อื่นรับรู้.
- มองถึงปัจจัยภายนอกมากเกินไป: แทนที่จะยอมรับความสามารถและทำงานหนักของตนเอง ผู้ที่มีImposter Syndrome มักทำความสำเร็จของตนเองให้กับโชคลาภหรือปัจจัยภายนอก.
- ความกลัวที่จะล้มเหลว: มีความกลัวที่ถูกตรวจพบว่าทำให้รู้ว่าตนเองไม่มีความสามารถหรือไม่ตรงตามมาตรฐานที่สูง.
- ลดค่าความสำเร็จ: แม้จะประสบความสำเร็จก็ยังไม่สามารถยอมรับความสำเร็จของตนเองและยังคงรู้สึกไม่มีค่า.
- เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น: ผู้ที่มีImposter Syndrome มักเปรียบเทียบตนเองไม่ได้ดีกับผู้อื่น ๆ และรู้สึกว่าคนอื่นมีความสามารถและประสบความสำเร็จมากกว่า.
- ทำงานหนักเพื่อพิสูจน์ตนเอง: บางครั้งผู้ที่มีImposter Syndrome อาจทำงานหนักเกินไปเพื่อพิสูจน์ความสามารถของตนเอง.
การเผชิญกับImposter Syndrome เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากมายหรือไม่ การเยี่ยมชมอาจารย์หรือมีการรับรู้ในแนวทางปรับปรุงตัวเองสามารถช่วยให้ผู้คนที่มีImposter Syndrome รับรู้และเสริมสร้างทักษะทางจิตวิทยาที่จำเป็นในการเอาชนะปรากฏการณ์นี้ได้
อาการของคนที่เป็น Imposter Syndrome
- ไม่มีความมั่นใจในตนเอง มี Self-Esteem ต่ำ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
- เป็น Perfectionist รักความสมบูรณ์แบบ มีความย้ำคิดย้ำทำ
- ชอบเปรียบเทียบตัวเอง กับคนอื่น ๆ ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม
- คิดว่ายังทำได้ไม่ดีพออยู่เสมอ
- ไม่ว่าใครจะชื่นชมงานเท่าไร ก็ไม่รู้สึกว่าตัวเองคู่ควรกับสิ่งนั้น
- คิดว่าสิ่งที่ตัวเองประสบความสำเร็จ มาจากปัจจัยอื่น ๆ มากกว่าความสามารถของตน
- มีความสงสัยและกังขาในตัวเอง (Self-Doubt)
รับมือกับImpostor Syndrome อย่างไรดี
- นิยาม ‘ความสำเร็จ’ ของตัวเอง ที่ไม่ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของผู้อื่น
- ตั้งเป้าหมายโดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
- มีสติ รู้เท่าทันตัวเอง สำรวจความคิดและความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ
- ไม่กดดันตัวเอง หรือแบกรับความคาดหวังของคนอื่นไว้มากเกินไป
- ลดการเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น
- หัดที่จะรัก และมองเห็นคุณค่าของตัวเราเอง
- อย่ากลัวที่จะยื่นมือออกไปขอความช่วยเหลือ หรือพึ่งพาคนอื่นบ้าง
- หาวิธีผ่อนคลายตัวเองให้มากขึ้น รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ซัพพอร์ตจิตใจได้
- หากรู้สึกว่ารับมือไม่ไหวแล้วจริง ๆ ให้ปรึกษาคนรอบตัว และไปพบกับแพทย์เฉพาะทาง
ทำอย่างไรให้หากพบ Imposter Syndrome ในที่ทำงาน?
ถ้าสุ่มคนมาสัก 10 คน เชื่อว่า 3-5 คนในนั้นต้องกำลังเผชิญกับโรคประหลาดนี้อยู่ ในยุคที่การแข่งขันสูง ยุคที่เราเห็นคนประสบความสำเร็จกันมากมาย คนที่เป็นโรคนี้ก็สูงขึ้นตามไปด้วยเหมือนกัน แล้วในฐานะคนรอบข้าง เราสามารถช่วยคนที่เป็นโรคนี้ หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคนี้ได้อย่างไรบ้าง
ความเข้าใจคือสิ่งสำคัญ
ถึงแม้ว่าเราไม่ได้มีอาการหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง เราเลยไม่ได้รับรู้ความรู้สึกเดียวกับคนที่ต้องเผชิญความรู้สึกแย่ ๆ แต่อย่างน้อยเราควรแสดงว่าปรารถนาดีและห่วงใย ให้คนที่กำลังมีปัญหาได้รับรู้ว่าเขาไม่ได้เผชิญกับมันคนเดียว แต่ยังมีคนที่จะคอยอยู่เคียงข้างและพร้อมรับฟังปัญหาของเขาอยู่
คำชมคือพลังใจอันยิ่งใหญ่
ผู้เขียนอยากจะแชร์ประสบการณ์ของตัวเองในการเป็นนักปลอบใจคนรอบข้างมาทั้งชีวิต และนอกจากเป็นนักปลอบใจก็ยังเป็นนักฉีดยามือฉมังอีกด้วย นักฉีดยาที่ว่าก็คือการที่คอยให้กำลังใจเพื่อน ๆ อยู่ตลอดเวลา ฉีดความมั่นใจ ความรักและพลังบวกไปให้ จนทุกคนเอ่ยปากว่า “มาคุยด้วยทุกครั้งก็มีกำลังใจตลอด”
ส่วนตัวเราเองก็ได้รับพลังบวกจากคนรอบข้างเช่นกัน โดยผ่านการชมกันในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกวัน ผู้เขียนเลยอยากแชร์พลังบวกดี ๆ ผ่านบทความนี้ไปให้ทั้งคนที่กำลังเผชิญโรคนี้อยู่และคนที่เป็นคนรอบข้างด้วย การที่เราคอยชมกัน ให้กำลังใจ ใช้คำพูดดี ๆ ต่อกันตลอดจะช่วยเสริมสร้างพลังงานดี ๆ ไม่ใช่แค่ตัวคนฟังแต่ยังเป็นตัวคนพูดเองด้วย นอกจากจะเสริมสร้างความมั่นใจแล้วยังเพิ่มความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น และทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวอีกด้วย
หากิจกรรมทำร่วมกัน
คิดแต่เรื่องงานตลอดเวลาก็ปวดหัว แม้แต่คนที่ไม่ได้มีปัญหาอะไรยังท้อ แล้วคนที่กำลังเผชิญกับ Impostor Syndrome อยู่ยิ่งแล้วใหญ่ การชวนเพื่อนออกไปทำกิจกรรม Outdoor กิจกรรมแปลกใหม่ให้คลายเครียดสักหน่อยแล้วกลับมาลุยกันต่อจะช่วยเติมพลังได้อย่างดี
หากปล่อยให้อาการImpostor Syndrome เกาะกินจิตใจของเราไป นานวันเข้า ความคิดแง่ลบ ที่ทำให้สงสัย และไม่มั่นใจในตัวเอง ก็จะครอบและกดทับตัวตนของเราลงไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเป็นความวิตกกังวล หดหู่ passion ในการทำงานต่าง ๆ และการใช้ชีวิตลดลง รู้สึกอ่อนล้า และ burn out จากการทำงาน การใช้ชีวิตได้ง่าย เกิดความสงสัยต่อคนรอบข้าง เพราะรู้สึกว่าตัวเอง ‘ไม่ดีพอ’ หรือ ‘ไม่คู่ควร’ ที่จะอยู่ตรงนี้ จนหวาดระแวงผู้อื่นไปหมด และนานวันเข้า อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้